top of page

ขนาดอะตอม

 

           ตามแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก อิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียสจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาด้วยความเร็วสูงและไม่ สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนรวมทั้งไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของ อิเล็กตรอนได้ นอกจากนี้อะตอมโดยทั่วไปไม่อยู่เป็นอะตอมเดี่ยวแต่จะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง อะตอมไว้ด้วยกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะวัดขนาดของอะตอมที่อยู่ในภาวะอิสระหรือเป็นอะตอม เดี่ยวในทางปฏิบัติจึงบอกขนาดอะตอมด้วยรัศมีอะตอม ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองที่มีแรง ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมไว้ด้วยกันหรือที่อยู่ชิดกันรัศมีอะตอมมีหลายแบบซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของแรงที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม                 ดังตัวอย่าง
รัศมีโคเวเลนต์  คือระยะทางครึ่งหนึ่งของความยาวพันธะโคเวเลนต์  ระหว่างอะตอมชนิดเดียวกัน ตัวอย่างรัศมีโคเวเลนต์ของไฮโดรเจนและคลอรีนแสดงได้ดังนี้

   
    ความยาวพันธะ  H – H           =   74 pm
    รัศมีโคเวเลนต์ของ H             =   74/2=  37  pm
    ความยาวพันธะ Cl – Cl           =   198 pm
    รัศมีโคเวเลนต์ของ Cl             =   198/2= 99 pm

 

 

 

 

 

 

 

 

รัศมีอะตอมของไฮโดรเจนและคลอรีน

ในกรณีที่เป็นพันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมต่างชนิดกันเช่น    อาจหารัศมีอะตอมของธาตุทั้งสอง ในที่นี้คือคาร์บอนกับคลอรีนและทราบรัศมีอะตอมของธาตุคลอรีนดังตัวอย่างจากข้อมูลทราบว่า  ความยาวพันธะ  C-CI = 176 pmรัศมีอะตอมของ CI  = 99 pmดังนั้น             รัศมีอะตอมของ  C = (176-99)=77 pm

รัศมีแวนเดอร์วาลส์  คือระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้ที่สุด ตัวอย่างรัศมีแวนเดอร์วาลส์ซึ่งหาจากอะตอมของแก๊สเฉื่อย เช่น รัศมีอะตอมของธาตุคริปทอน หรือหาจากโมเลกุลโคเวเลนต์ 2 โมเลกุลที่สัมผัสกัน เช่น โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจน 2 โมเลกุล ดังตัวอย่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 รัศมีแวนเดอร์วาลส์ของคริปทอนและไฮโดรเจน

- รัศมีโคเวเลนต์กับรัศมีแวนเดอร์วาลส์แตกต่างกันอย่างไร- ขนาดอะตอมของ H ที่เป็นรัศมีโคเวเลนต์กับรัศมีแวนเดอร์วาลส์มีค่าแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรรัศมีโลหะ มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมโลหะที่อยู่ใกล้กัน มากที่สุด เช่น ธาตุแมกนีเซียม มีระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมสองอะตอมอยู่ใกล้กันที่สุดเท่ากับ 320 พิโกเมตร รัศมีอะตอมของโลหะแมกนีเซียมจึงมีค่าเท่ากับ      ซึ่งเท่ากับ 160 พิโกเมตรการศึกษารัศมีอะตอมของธาตุ ทำให้ทราบขนาดอะตอมของธาตุและสามารถเปรียบเทียบขนาดอะตอมของธาตุที่อยู่ใน คาบเดียวกันหรือหมู่เดียวกันได้ ตัวอย่างรัศมีอะตอมของธาตุในตารางธาตุ แสดงดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ
ธาตุที่เป็นโลหะแสดงด้วยค่ารัศมีโลหะ ธาตุอโลหะเป็นรัศมีโคเวแลนต์ ส่วนธาตุหมู่ VIIA เป็นรัศมีแวนเดอร์วาลส์
เมื่อพิจารณาขนาดอะตอมของธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน พบว่าขนาดอะตอมมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น อธิบายได้ว่าเนื่องจากธาตุในคาบเดียวกันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ในระดับ พลังงานเดียวกัน แต่มีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสแตกต่างกัน ธาตุที่มีจำนวนโปรตอนมากจะดึงดูดเวเลนซ์อิเล็กตรอนด้วยแรงที่มากกว่าธาตุที่ มีจำนวนโปรตอนน้อย เวเลนซ์อิเล็กตรอนจึงเข้าใกล้นิวเคลียสได้มากกว่าทำให้อะตอมมีขนาดเล็กลง
ส่วนธาตุในหมู่เดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสและจำนวนระดับพลังงานที่มี อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นด้วย อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในจึงเป็นคล้ายฉากกั้นแรงดึงดูดระหว่างโปรตอนใน นิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน ทำให้แรงดึงดูดต่อเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีน้อย เป็นผลให้ธาตุในหมู่เดียวกันมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นตามเลขอะตอม แสดงว่าการเพิ่มจำนวนระดับพลังงานมีผลต่อขนาดอะตอมมากกว่าการเพิ่มจำนวน โปรตอนในนิวเคลียส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

bottom of page